บทที่ 4 สนุกกับโจทย์ปัญหา KidBright
จุดประสงค์การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาโปรแกรมเพื่อประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์
บทที่ 4 สนุกกับโจทย์ปัญหา KidBright
จุดประสงค์การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาโปรแกรมเพื่อประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์
สาระสำคัญ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานในชีวิตประจำวันด้วยการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยอำนวยความสะดวกและสามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
🌍 ตัวอย่างสถานการณ์โจทย์ปัญหา 🌍
นาธานอาศัยอยู่ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ต้องการเดินทางมาเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ของประเทศไทยในเดือนธันวาคม แต่มีพยากรณ์อากาศแจ้งว่าช่วงเวลานั้น ภาคเหนือจะมีอากาศหนาวเย็นโดยค่าอุณหภูมิไม่แน่นอนตามสภาพ อากาศ นาธานจะใช้บอร์ด KidBright เพื่อวัดอุณหภูมิทั้งหน่วยที่เป็นองศาเซลเซียสและองศาฟาเรนไฮต์ ผ่านการกดสวิตช์ได้อย่างไร
การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
🩼 ข้อมูลเข้า อุณหภูมิอากาศ เป็นองศาเซลเซียส
🧑🏭 ข้อมูลออก อุณหภูมิอากาศ เป็นองศาฟาเรนไฮต์
วิธีในการตรวจสอบความถูกต้อง
▶️ กดปุ่ม สวิทช์ 1 ให้แสดงค่าอุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียส
▶️ กดปุ่ม สวิทช์ 2 ให้แสดงค่าอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์
▶️ โดยมีการคำนวณจากสูตร ฟาเรนไฮต์ = (เซสเซียส * 1.8) + 32
การวางแผนการแก้ปัญหา (เขียนรหัสลำลองหรือผังงาน)
เริ่มต้น
กำหนดตัวแปรเพื่อเก็บค่าอุณหภูมิองศาเซลเซียส C
ใช้สวิทซ์ S1 รับและแสดงค่าอุณหภูมิจากเซนเซอร์อุณหภูมิ
กำหนดตัวแปรเพื่อเก็บค่าอุณหภูมิองศาฟาเรนไฮต์ F
คำนวณแปลงอุณหภูมิจากองศาเซลเซียสเป็นองศาฟาเรนไฮต์ F= (Cx1.8) +32
ใช้สวิทซ์ S2 แสดงค่าอุณหภูมิองศาฟาเรนไฮต์ ค่า F
จบ
การเขียนชุดคำสั่งตามรหัสลำลอง (สามารถเขียนแบบอื่นได้"
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเขียนชุดคำสั่ง
นักเรียนเขียนได้แบบไหนบ้าง
มาอวดกัน